เห็ดทางการแพทย์คืออะไร?

“เห็ดทางการแพทย์” (Medicinal Mushrooms)

คือเห็ดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีประโยชน์ต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น เห็ดยามาบูชิตาเกะ เห็ดไมตาเกาะ เห็ดมัตสึตาเกะ เป็นต้น เห็ดสายพันธุ์เหล่านี้ ถูกใช้มานานโดยเฉพาะ ในตำรายาแพทย์แผนตะวันออก ปัจจุบันมีผลการวิจัยจากนานาชาติ ทั้งญี่ปุ่น อเมริกา และเกาหลี ยืนยันแล้วว่า

“เสริมภูมิคุ้มกัน ถึงระดับเม็ดเลือดขาว

เห็ดทางการแพทย์ เช่น

เสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว
ในการกำจัดเชื้อโรค ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น

จากการวิจัย ยืนยันว่า เห็ดทางการแพทย์มีสารสำคัญ
ทางเภสัชวิทยา ซึ่งมีส่วนช่วย
เสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว
ในการกำจัด ไวรัส เชื้อโรค แบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมที่เป็นสาเหตุในการเจ็บป่วย เร็วยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือคือการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายนั่นเอง

โดยสารสำคัญ ในเห็ดทางการแพทย์จะถูกย่อยที่บริเวณผนังลำไส้ส่วนเล็ก (ileum) และเข้าไปเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับสารสำคัญในเห็ดทางการแพทย์สายพันธุ์นั้นๆ เช่น กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคด้วยการกินเชื้อโรคเข้าไป หรือกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวปล่อยสารออกมาทำลายเชื้อโรค เป็นต้น ดังนั้นการบริโภคเห็ดทางการแพทย์หลากหลายสายพันธุ์ จึงให้ประโยชน์มากกว่าการบริโภคเพียงสายพันธุ์เดียว

นอกจากประโยชน์ในการกระตุ้นเม็ดเลือดขาวแล้ว ยังมีผลงานวิจัยยืนยันว่า
เห็ดทางการแพทย์มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ได้แก่

ตัวอย่างงานวิจัย เกี่ยวกับประโยชน์อื่นๆ

  • เห็ดหลินจือ งานวิจัยในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 3 มื้อติดต่อกัน 12 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ทาน
  • เห็ดไมตาเกะ มีคุณสมบัติช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดื้อต่ออินซูลิน และเพิ่มความไวต่ออินซูลิน
  • เห็ดถั่งเฉ้า มีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให้ระบบการทำงานของหลอดเลือดดีขึ้น ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดและหัวใจขาดเลือด

ที่มา:

hbbnn m bg/
  • Chiou W.F., Chang P.C., Chou C.J., Chen C.F. (2000), Protein constituent contributes to the hypotensive and vasorelaxant activities of Cordyceps sinensis. Life Sci. 66:1369–1376.
  • Mark Mayell. (2001), Maitake Extracts and Their Therapeutic. Potential – A Review. Alternative Medicine Review. 6(1): 48-60.
  • Lindequist U.,Niedermeyer Timo H.J. and Julich W.D.( 2005), The Pharmacological Potential of Mushrooms. eCAM. 2(3): 285–299.

ข่าวสาร

มติชน (04 พฤษภาคม 2559)

เสริมสุขภาพ เสริมภูมิคุ้มกัน..ถึงระดับเม็ดเลือดขาวด้วย "เห็ดไมตาเกะ ยามาบูชิตาเกะ มัตสึตาเกะ"

ข่าวสด (04 พฤษภาคม 2559)

ฉลาดดูแล ทันกระแส เสริมภูมิคุ้มกันระดับเม็ดเลือดขาว

นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 421

"เห็ดทางการแพทย์" กระแสสุขภาพจากธรรมชาติ

เดลินิวส์ (05 เมษายน 2559)

เห็ดทางการแพทย์ กระแสการดูแลสุขภาพที่น่าจับตามอง

ไทยรัฐ (02 เมษายน 2559)

"ลดเครียด-นอนให้พอ-กินเห็ดทางการแพทย์" เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน...ระดับ
เม็ดเลือดขาว

ข่าวสด (01 เมษายน 2559)

เสริมประสิทธิภาพการทำงานของ “เม็ดเลือดขาว” ด้วยเห็ดยามาบูชิตาเกะ
เห็ดไมตาเกะ เห็ดมัตสึตาเกะ

บริโภคอย่างไร?

กรรมวิธีที่เหมาะสม

ความร้อนโดยตรงจากการประกอบอาหาร ไม่สามารถดึงสารสำคัญจากเห็ดทางการแพทย์ ออกมาได้เต็มที่ จึงต้องใช้วิทยาการสมัยใหม่ที่เหมาะสมในการสกัด เพื่อให้ได้รับคุณค่าของ เห็ดทางการแพทย์สูงที่สุด อีกทั้งการสกัดในรูปแบบของเหลว จะทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย

ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต และแหล่งผลิต

เห็ดทางการแพทย์ มีความจำกัดในเรื่องการเพาะปลูก ทำให้หาได้ค่อนข้างยาก อีกทั้ง บางสายพันธุ์ยังมีราคาสูงมาก ต้องใช้เทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นควรเลือกพิจารณาให้ดีถึงผู้ผลิตและแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ

บริโภคเห็ดทางการแพทย์หลายๆ สายพันธุ์

เห็ดทางการแพทย์แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ส่งผลเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวต่างกัน มีการศึกษาพบว่า การรับประทานสารสกัดจากเห็ดไมตาเกะร่วมกับสารสกัดจากเห็ดชิตาเกะ ให้ผลกระตุ้นเม็ดเลือดขาวได้ดีกว่า

ที่มา : • Meletis C.D. and Baker J.E., Medicinal Mushrooms A Selective Overview, Alternative & Complimentary Therapies, 2005: 141-145.